วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 6 การจัดตั้งศูนย์ในฝันจำลองเพื่อฝึกประสบการณ์ในการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

















คำขวัญ

อนุรักษ์เต่าทะเล เสน่ห์เมืองไทย รักษาทรัพยากรไว้ เพื่อไทยยั่งยืน

วิสัยทัศน์

เพื่ออนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล ไม่ให้สูญพันธ์และช่วยรักษาสมดุลของธรรมชาติให้ยั่งยืน

นโยบาย

- ให้เป็นแหล่งอนุบาลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถดำเนินการปล่อยเต่าทะเลที่ได้
ทำการอนุบาลให้กลับคืนสู่ท้องทะเล รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาวิจัยข้อมูลในการอนุรักษ์พันธ์
เต่าทะเลที่ดีต่อไป 
- ให้เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล
ซึ่งจะเป็นผลในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลต่อเนื่องกันในด้านต่างๆ ตามมา ขอบเขต
ความรับผิดชอบเป็นศูนย์คุ้มครองแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล เป็นแหล่งอนุบาลเต่าทะเลและ
ให้ความรู้ในเรื่องเต่าทะเลการเยี่ยมชมศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ 
หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งในอดีตการดำเนินงานด้านอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล
ของกองทัพเรือมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 และได้ดำเนินงานเฉพาะเรื่องการเพาะไข่เต่า รวมถึงการอนุบาล
ลูกเต่าทะเลเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่บริเวณเกาะคราม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
วันที่ 17 ตุลาคม 2544 กองทัพเรือ ได้ยกเลิกคณะอนุกรรมการอนุรักษ์ต่างๆในงานด้านการอนุรักษ์ทั้งหมด

โครงสร้างองค์กร


การให้บริการของศูนย์รักษ์เต่าทะเล

         เป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของเต่าทะเล จัดให้มีการบรรยาย ชมวีดีทัศน์และนำชมนิทรรศ
การกับเยี่ยมชมของเต่าทะเลที่บ่ออนุบาล เพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะเยาวชนได้สัมผัสกับวงจรชีวิต
ของเต่าทะเล เกิดความรู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรเต่าทะเลของไทยที่กำลังจะสูญพันธุ์


การดำเนินการจัดตั้งศูนย์รักษ์เต่าทะเล

ใช้หลักการในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ คือ
1. เป้าหมาย มีกำหนเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงานภายในศูนย์แห่งนี้ โดยการให้จะจัดศูนย์
ทรัพยากรการเรียนรู้แห่งนี้เป็นแหล่งข้อมูลในการฟื้นฟูและอนุรักษ์เต่าทะเล ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยว 
เพื่อเป็นการเผยแพร่สารความรู้ต่างๆเกี่ยวกับเต่าทะเลในเรื่องต่างๆให้ผู้เยี่ยมชมได้รับรู้
2. ทรัพยากร ด้วยสาเหตุที่ ทรัพยากรในการบริหารมีจำนวนจำกัดแล้วนั้น ทำให้ต้องมีการบริหารศูนย์
ทรัพยากการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ โดยการเลือกใช้ทรัพยากรอย่างมีประโยชน์และคุ้มค่ามาก
ที่สุดเท่าที่ทำได้
3. การประสานงาน มีการประสานงานในการทำงานกันทุกๆฝ่าย อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานมีคุณภาพมากขึ้น
4. การแบ่งงาน มีการแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างเหมาะสม เป็นสัดส่วนที่ลงตัว เพื่อลดภาระการทำงาน
และความสับสนในการทำงาน
5. การวางแผน กำหนดสิ่งที่ต้องการของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
หรือแผนการทำงานที่ได้วางไว้ก่อนจะเปิดศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แห่งนี้
6. การจัดองค์กร กำหนดโครงสร้างแผนผังขององค์กรอย่างเป็นทางการ โดยเรียงลำดับจากผู้อำนวยการ
ศูนย์เรื่อยลงมาตามลำดับหรือจากตำแหน่งที่มีความสำคัญหรือใหญ่ที่สุดลงมาหาตำแหน่งที่มีความสำคัญ
น้อยที่สุดหรือเล็กที่สุด ซึ่งแผนผังการจัดโครงสร้างของศูนย์รักษ์เต่าทะเลเป็น 
แบบ Line and Staff Organization เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างสำหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ 
ซึ่งลำพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้จึงจำเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมการต่าง ๆ (เลขานุการ) 
เข้ามาเป็นผู้ช่วยในการควบคุมการทำงานตามแผนภูมิโครงสร้างของศูนย์รักษ์เต่าทะเล
7. การบริหารงานบุคคล มีการบริหารงานของบุคคลในศูนย์ทรัพยากรอย่างเป็นระบบ
โดยการแบ่งการทำงานเป็นฝ่ายต่างๆที่ได้แบ่งไว้ตามแผนภูมิ
8. การสั่งการ มีการสั่งการที่ดี เหมาะสมกับทุกฝ่ายจากผู้อำนวยการศูนย์ฯ เพื่อให้ทุกฝ่ายเกิด
ความเข้าใจตรงกันในการทำงาน
9. การประสานงาน มีการประสานงานระหว่างฝ่าย เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบ
ไม่เกิดปัญหาต่างๆในการทำงาน
10. การรายงานต่อฝ่ายบริหาร มีการรายการผลการดำเนินงานของทุกฝ่ายต่อฝ่ายบริหารทุกครั้ง
เพื่อจะนำมาประมวลผลถึงข้อผิดพลาดต่างๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขต่อไป
11. การวางแผนการเงิน บัญชีและการควบคุม มีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของศูนย์
และมีการวางแผนควบคุมอย่างถูกต้อง โปร่งใส
12. หลักการในการจัดการทรัพยากร มีการจัดการครบถ้วน ทั้งการจัดการด้านทรัพยากรบุคคล
ด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ วัสดุ สื่อการเรียนรู้ การจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์
อุปกรณ์ในการจัดการ ฯลฯ

นิสิตได้อะไรจากการทำโครงการนี้

          ทราบถึงหลักการของการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ การวิเคราะห์งานเลือกแหล่งที่มา
ของตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ การบริหารงานต่างๆ รวมถึงการเขียนแผนผังการบริหารด้วย 
ได้ศึกษาถึงภารกิจหลักหรือกิจกรรมที่สำคัญของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ทั้งการเลือก การจัดหา 
การผลิตสื่อต่างๆ การจัดกิจกรรมหรือนิทรรศการต่างๆภายในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ การแบ่งหน้าที่
ของแต่ละคนในกลุ่ม ในด้านการบริหารการบริการ การผลิตสื่อ ด้านวิชาการ ด้านการปรับปรุงสื่อการสอน 
และด้านกิจกรรมอื่นๆ ทราบหลักขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน เพื่อนำมาใช้ในการบริหาร
ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้ลงไปปฏิบัติงานเก็บข้อมูล ศึกษาเรื่องราวเต่าทะเลของไทย

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิิจกรรมที่ 5 การเขียนรายงานผลการดำเนินงาน


1. การรายงานผลมีความสำคัญอย่างไร ต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

  • การรายงานผลการดาเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดาเนินงาน และเป็นการนาเสนอเพื่อปรับปรุงในการดาเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป

กิจกรรมที่ 5 การประสานงาน


1. สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงาน
         1. การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม
         2. การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน
         3. การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี
         4. มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ
         5. การประสานงานโดยวิธีควบคุม



2. เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
เทคนิคการประสานงาน(Techniques Coordination)

       1. จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
       2. การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
       3. การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
      4. การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
      5. การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
      6. การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
      7. การติดตามผล



3. จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
       1. การขาดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจะกลายเป็นสาเหตุทำให้การติดต่อประสานงานที่ควรดำเนินไปด้วยดี ไม่สามารถกระทำได้

       2. การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ
       3. การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่น ๆ ทราบวัตถุประสงค์และวิธีการในการทำงาน
       4. การก้าวก่ายหน้าที่การงาน
       5. การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีย่อมทำให้การทำงานเป็นระบบที่ดีของความร่วมมือขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
      6. การขาดการนิเทศงานที่ดี
      7. ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม
      8. การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน
      9. ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดมีความร่วมมือและประสานงานกันเพราะแสดงว่ามีฝีมือคนละชั้น
     10. การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดแจ้งทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความกังวลใจและอาจไปก้าวก่ายงานของบุคคลอื่นก็ได้
    11. ระยะทางติดต่อห่างไกลกัน
    12. เทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกันเนื่องมาจากการกุมอำนาจหรือการกระจายอำนาจมากเกินไป



4. จากทฤษฎีที่ศึกษามานิสิตคิดว่าศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ใดบ้างที่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดการประสานงานที่ดี จงยกตัวอย่างศูนย์ฯ พร้อมอธิบาย

  • สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา


       สำนักหอสมุด มีหน้าที่หลักในการสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยในมหาวิทยาลัยบูรพา โดยการจัดหา จัดเก็บ จัดระบบ บำรุงรักษา และให้บริการสารสนเทศทางวิชาการในทุกรูปแบบ ตลอดจนพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และห้องสมุดดิจิทัล สำนักหอสมุดให้บริการเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมี ประสิทธิภาพ เป็นมาตรฐานสากล สามารถเชื่อมโยงการดำเนินงานและการให้บริการในลักษณะเครือข่ายห้องสมุดทั้ง ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในระดับชาติและนานาชาติ


      โดยเน้นการให้บริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยความสะดวก รวดเร็ว และจิตสำนึกในการให้บริการที่ดี

การทำงานจะแบ่งหน้าที่และการประสานงานที่ดี ดังนี้

  • สำนักงานเลขานุการ
  • ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ฝ่ายบริการสารสนเทศ
  • ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
  • ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
  • ฝ่ายเอกสารและวารสาร
  • ฝ่ายโสตทัศนศึกษา



เป้าหมายการดำเนินงาน
     1. เพื่อสนับสนุนด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย ให้บรรลุตามภารกิจหลัก 4 ประการ คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่ชุมชน และการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
    2. เพื่อจัดหาและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
    3. เพื่อจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศให้ผู้ใช้เข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และตรงตามความต้องการโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
   4. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน




กิจกรรมที่ 5 การประสานงาน การจัดการรู้และเงินงบประมาณในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้


1. การประสานงานมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ประเภทของการประสานงานแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ

             1. การประสานงานภายในองค์การและภายนอกองค์การ การประสานงานภายในองค์การ หมายถึง การประสานงานภายในหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ ส่วนการประสานงานภายนอกองค์การเป็นการประสานงานระหว่างหน่วยงานหรือการติดต่อกับบุคคลภายนอกต่าง ๆ
            2. การประสานงานในแนวดิ่ง และการประสานงานในแนวราบ การประสานงานในแนวดิ่ง หมายถึง การประสานงานจากผู้บังคับบัญชามาสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา (Top down) และการประสานงานจากผู้ใต้บังคับบัญชาไปยังผู้บังคับบัญชา (Bottom up) ส่วนการประสานงานในแนวราบ หมายถึง การประสานงานในระดับเดียวกัน



2. ให้นิสิตอธิบายความสำคัญของการประสานงานกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

  • การประสานงาน (Coordinating) หมายถึง ติดต่อสื่อสารตามลำดับขั้นตอนด้วยวาจา ด้วยเอกสาร หรือช่องทางอื่น ๆ โดยมีการจัดระเบียบวิธีการทำงานเพื่อให้งานและหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ร่วมมือปฏิบัติเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวไม่ทำงานซ้ำซ้อนกัน ขัดแย้งหรือก้าวก่ายหน้าที่กัน ทั้งนี้เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์การนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ



3. การรายงานผลมีความสำคัญต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร

  •  การรายงานผลการดาเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดาเนินงาน และเป็นการนาเสนอเพื่อปรับปรุงในการดาเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป




4. ประเภทของเงินงบประมาณในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
ประเภทรายจ่ายศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จำแนกออกเป็น 7 หมวด ดังนี้
         1. หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ

         2. หมวดค่าจ้างชั่วคราว
         3. หมวดค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ
        4. หมวดค่าสาธารณูปโภค
        5. หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
        6. หมวดเงินอุดหนุน
        7. หมวดรายจ่ายอื่น



5. เงินอุดหนุนโดยอนุโลมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
เงินอุดหนุนโดยอนุโลม
       1. ค่าฌาปนกิจ
       2. ค่าสินบน
       3. ค่ารางวัลนำจับ
       4. เงินอื่น ๆ ที่สำนักงบประมาณจำ กำหนดเพิ่มเติม



วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4 - หลักการสั่งการอำนวยการ



          5.    องค์ประกอบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
  • ความเป็นผู้นำ
  • การจูงใจ
  • การติดต่อสื่อสาร
  • องค์การและการบริหารงานบุคคล

           6.    ประเภทของการอำนวยการมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
·       โดยวาจา

·       โดยลายลักษณ์อักษร  ได้แก่ บันทึกข้อความ หนังสือเวียน คำสั่ง ประกาศ


         7.   รูปแบบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง
  • แบบบังคับ
  • แบบขอร้อง
  • แบบแนะนำหรือโดยปริยาย
  • แบบขอความสมัครใจ

          8.   การอำนวยการที่ดีมีอะไรบ้าง
·       ชัดเจน มีลักษณะแน่นอน
·       ใช้น้ำเสียงให้เป็นประโยชน์
·       ใช้ถ้อยคำอย่างสุภาพ
·       ลดคำสั่งที่มีลักษณะ ห้ามการกระทำ 
·       อย่าออกคำสั่งในเวลาเดียวกัน มากเกินไป
·       ต้องแน่ใจว่าการออกคำสั่งหลาย ๆ คำสั่ง ไม่ได้ขัดแย้งกันเอง
·       อย่าบันดาลโทสะอย่าโยนความผิดให้ผู้รับคำสั่ง


         9.   ให้นิสิตอธิบายความเชื่อมโยงการบริหารงานบุคคลกับการอำนวยการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนอย่างไร
การบริหารงานบุคคลและการอำนวยการจำเป็นต้องพิจารณาถึงปัญหาและความก้าวหน้าของหน่วยงานโดยมุ่งเน้นเป้าหมายขององค์กรเป็นหลัก

กิจกรรมที่ 4 - หลักการจัดการ


1.  ระบบการบริหารงานบุคคลมีอะไรบ้าง

·       ระบบคุณธรรม ใช้หลักเกณฑ์ ดังนี้ หลักความเสมอภาค หลักความสามารถ  หลักความมั่นคง หลักความเป็นกลาง
·       ระบบอุปถัมภ์ ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการคุณ


           2. การจำแนกตำแหน่งมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
    3 ประเภท
·       ตามลักษณะตำแหน่ง ถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสำคัญ
·       ตามลักษณะยศ จำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ
·       ตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ เช่น ครู อาจารย์


         3. ขั้นตอนของการวางแผนกำลังคนมีอะไรบ้าง
·      ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนขององค์การ
·     การตรวจสภาพกำลังคน ค้นหาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสภาพกำลังคนที่มีอยู่ในองค์การ เช่น จำนวนตำแหนง อัตรากำลังคน
·      การพยากรณ์ความต้องการกำลังคน - อาศัยปัจจัยต่อไปนี้ ปริมาณการผลิต การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี อุปสงค์และอุปทาน การวางแผนอาชีพให้แก่พนักงาน
·        การเตรียมหาคนสำหรับอนาคต - อาจทำได้ดังนี้ ฝึกอบรมพัฒนาพนักงานที่มีอยู่ การสรรหาคัดเลือกบุคคลจากภายนอกตลาดแรงงาน


          4.  การวางแผนกำลังคนที่ดีมีอะไรบ้าง
·       ภาระงาน, การออกแบบงาน, การวิเคราะห์งาน, รายละเอียดของตำแหน่งงาน, คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ,การทำให้งานมีความหมาย

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3 - การจัดผังโครงสร้างของศูนย์


อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

อ้างอิง : http://www.waghor.go.th/v1/aboutus/structure.html

            เป็นโครงสร้างประเภท Line Organization เพราะจะเห็นได้ว่า มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละส่วนออกอย่างชัดเจน เนื่องจากผู้บริหารไม่สามารถดูแลคนเดียวได้จึงแบ่งออกเป็นขั้นๆ



ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เขตวัฒนา

อ้างอิง : http://www.ksnwattana.nlern.com/index.php/object/page/access/health/files/2.html

             เป็นโครงสร้างประเภท Line Organization เพราะจะเห็นได้ว่า มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละส่วนออกอย่างชัดเจน เนื่องจากผู้บริหารไม่สามารถดูแลคนเดียวได้จึงแบ่งออกเป็นขั้นๆ